11 ต.ค. 2554

พระของขวัญพูดได้ เปล่งรัศมีแล้วลอยไป ก็ได้



ในสมัยที่หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ยังมีชีวิตอยู่ก่อนที่จะมอบพระของขวัญให้กับผู้ใด พระ

เดชพระคุณท่านจะต้องให้ผู้ที่มาขอรับพระของขวัญ ได้ฝึกการภาวนาเสียก่อน จึงมอบพระของขวัญให้

ไป พร้อมกับกำชับให้ผู้นั้นหมั่นเจริญภาวนาอยู่เสมอ อย่าให้ทอดทิ้ง"ธรรม" แล้วภายหลังต่อมาจึงให้

พิมพ์คำแนะนำการปฏิบัติภาวนาแจกพร้อมกับพระของขัวญ ให้แก่ผู้มาขอรับพระของขวัญทุกคน

และได้ถือปฏิบัติสืบต่อมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ 

หลวงปู่ท่านได้สร้างพระผงมอบเป็นของขวัญแก่ผู้มาทำบุญสร้าง
โรงเรียนพระปริยัติธรรม ใครบริจาค ๒๕ บาทขึ้นไปจะได้ พระ๑ องค์
แม้บริจาคเป็นพันเป็นหมื่นก็ได้คนละ ๑ องค์เท่านั้น พระของขวัญ
วัดปากน้ำมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์มาจนกระทั่ง
ปัจจุบัน

ท่านพูดว่าสร้างคนนั้นสร้างยาก เรื่องเสนาสนะไม่ยาก



" การสร้างคนนั้นเป็นอัธยาศัยที่ท่านสนใจ

 ภิกษุสามเณรรูปใดมีสติปัญญาสามารถ 

เที่ยวนำฝากสำนักโน้นสำนักนี้ให้ได้รับการศึกษาชั้นดีต่อไป

 และเพื่อรับเอาขนบธรรมเนียมของสำนักนั้นมาปฏิบัติ

พอเหมาะสม เป็นการให้สังคมแก่ศิษย์เป็นอย่างดี 

วางแนวทางให้มีการติดต่อกัน ให้มีสัมพันธ์ต่อกัน 

ให้แสดงความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 

แม้ในคณะธรรมยุตท่านก็ส่งเสริมให้ได้บรรพชาอุปสมบท 

คือศิษย์สมัครใจก็อนุญาต ไม่มีความรังเกียจใครผู้ใด 

ท่านพูดว่า เรามองกันในแง่ดีจะมีสุขใจ เพียงเท่านี้ก็พอใจแล้ว "

(พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ ต่อ)
                แม้ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร แต่ไม่มีใครเรียกชื่อนั้น เรียกหลวงพ่อเสมอมา บางคนก็ไม่ทราบว่าท่านมีสมณศักดิ์ เพราะภิกษุสามเณรในวัดและคนวัดก็เรียก "หลวงพ่อ" เสียหมด บางคนเรียกว่า "เจ้าคุณพ่อ"
                นอกจากท่านจะสร้างคนให้เป็นคนแล้ว เสนาสนะก็ได้จัดทำรุดหน้าไป แต่เพราะท่านฝักใฝ่ในด้านกรรมฐานเสียมาก การก่อสร้างปฏิสังขรณ์ก็ไม่ใคร่สนใจมากนัก ท่านพูดว่าสร้างคนนั้นสร้างยาก เรื่องเสนาสนะไม่ยาก ใครมีเงินก็สร้างได้ แต่ความสำคัญต้องสร้างคนก่อน

หลวงพ่อสดวัดปากน้ำสอนให้ภาวนา สัมมาอะระหัง ความหมายของคำว่า “สัมมาอะระหัง”


หลวงพ่อสดวัดปากน้ำท่านจะสอนให้ภาวนา " สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง " ๓ ครั้ง เมื่อใจของเราซัดซ่ายไปในเรื่องฟุ้งซ่านทั้งหลาย พร้อมกลับให้ใจของเรา หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หยุดอยู่กลางดวงใส น้อมจิตเข้าไปในกลางดวงใสเรื่อยๆก็จะพบกับองค์พระภายในตัว คือ กายธรรม หรือองค์พระธรรมกาย

ความหมายของคำว่า “สัมมาอะระหัง”
คำว่า “สัมมาอะระหัง” เป็นภาษาบาลี มีศัพท์ควบคู่กันอยู่ ๒ ศัพท์ “สัมมา” ศัพท์หนึ่ง “อะระหัง” ศัพท์หนึ่ง

“สัมมา” เป็นศัพท์ที่มีความหมายสูง แปลว่า ชอบในพระพุทธคุณ ๙ บท ท่านเอาศัพท์นี้เข้าคู่กับ “สัมพุทโธ” เป็นสัมมาสัมพุทโธเป็นบทแสดงพระคุณของพระพุทธเจ้า แปลว่าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ นอกจากใช้ในบทพระพุทธคุณแล้ว ยังมีใช้ในองค์อริยมรรค ๘ ด้วย โดยมีคำว่า สัมมา ควบองค์มรรคอยู่ทุกข้อเป็น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น 

29 ก.ย. 2554

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำแสดงได้แจ้งชัด และชี้ทางปฏิบัติให้โดยตรง

 วันครูวิชชาธรรมกาย
" การที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ มิได้มาตัวเปล่า 
ต่างมีบุญและบาปที่ทำไว้ในอดีตติดมาทุกคน 
ต่างกันแต่มากบ้างน้อยบ้าง ไม่ช้าเราก็ต้องตายดอก 
อย่ามาแบกเอาบาปเพิ่มไปอีกเลย 
ลาภสักการะอันหมุนลงได้เป็นราคาเงินนั้น 
เป็นสมบัตินอกกายตายแล้วเอาไปไม่ได้ดอก 
มันเป็นของใช้สอยประจำโลก 
เราตายแล้วก็ตกเป็นของคนอื่น เขาอาศัยใช้ต่อไป 
ใครจะว่าเป็นของใครไม่ได้ทั้งนั้น 
โลกมนุษย์เป็นแหล่งกลางสำหรับอาศัยสร้างบุญ สร้างบาป " 

 เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเป็นเรื่องใหญ่เป็นเรื่องยาก ผู้ไม่ใช่นักปฏิบัติแล้ว ยากที่จะนำมาแสดงให้แจ่มแจ้ง ให้เป็นผลปฏิบัติได้ แต่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำแสดงได้แจ้งชัด และชี้ทางปฏิบัติให้โดยตรง จึงสมควรเถิดไว้ในฐานันดรพระธรรมกถึกชั้นเยี่ยม ซึ่งข้าพเจ้าขอกราบแสดงความเคารพอย่างสูงต่อท่านไว้ในที่นี้ด้วย

26 ก.ย. 2554

ชมวีดีโอ ประวัติหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ


หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ก่อนที่ท่านจะออกบวช

โดยเกิดธรรมสังเวชขึ้นในใจว่า 

"การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ 

ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมีก็เป็นคนชั้นต่ำ 

ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอายไม่เทียมหน้าเขา 

บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน 

จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ 

ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว 

แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม 

ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า" 

เมื่อได้โอกาสท่านได้จุดธูปเทียนบูชาพระ อธิษฐานว่า 

"ขอเราอย่าได้ตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน 

เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต" 

นี้ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ ๑๙ ปี 

ประวัติหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ   

10 ก.ย. 2554

เสียงอกุศล


 
" เพราะท่านชอบหมกมุ่นอยู่แต่กิจภาวนาโดยมาก ออกรับแขกก็เป็นเวลา ตอนเพลครั้งหนึ่งไปพบได้เสมอ ถัดจากนั้นก็เวลา ๑๗.๐๐ น. อีกหนหนึ่ง ออกมานั่งพักผ่อนสนทนาปราศรัย นอกจากนี้ท่านอยู่ในห้องภาวนาซึ่งเรียกว่า "โรงงาน" ซึ่งใครไม่เข้าใจ ได้ยินคำว่าโรงงาน เลยเข้าใจเป็นอย่างอื่นไปก็มี ข้าพเจ้าเองเคยได้ยินเหมือนกัน ว่าหลวงพ่อมีโรงงานทำบุ้งกี๋ขายจึงได้เลี้ยงพระทั้งวัด ซึ่งเป็นเสียงอกุศล "


" ท่านเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ด้วยประการทั้งปวง และมีภูมิรู้ในทางปริยัติกว้างขวาง เป็นพระธรรมกถึกชั้นเยี่ยม ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติอย่างดีเลิศ การปฏิบัติและแนวเทศนาของท่านดำเนินตามหลักในคัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งสิ้น "

2 ก.ย. 2554

สมาธิ-ภาวนา-ตามแบบของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ


ในรูปภาพด้านบน เป็นรูปภาพตัดของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ 
ที่มาวาด ให้เห็นรายละเอียดได้ชัดเจน 
ถึงตำแหน่งทางเดินของจิตทั้งฐานที่ ๑ ถึง ฐานที่ ๖ 
และตำแหน่งที่สำคัญคือที่ตั้งของใจ ฐานที่ ๗  
ในการปฏิบัติจริงๆเมื่อเรารู้ถึงฐานที่ตั้งทั้ง ๗ ฐาน หมดแล้ว
เราจะมากำหนดรู้อยู่ที่ฐานที่ ๗ ที่เดียว ไม่เคลื่อนไป เคลื่อนมา
ในฐานอื่นๆอีก เพราะฐานที่ ๗ เป็น ศูนย์กลางกาย เป็นที่ประทับอยู่
ขององค์พระภายในตัวเรา คือ พระธรรมกาย

การทำสมาธิภาวนาตามแบบของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ เป็นต้นแบบเดิมที่เขียนไว้ใน

หนังสือคู่มือสมภาร ได้เขียนเริ่มเรื่องวิธีทำสมาธิไว้ว่า

31 ส.ค. 2554

เป้าหมายของการประพฤติปฏิบัติธรรม



การประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของทุกคน เพราะว่า ทุกคนก็ยังมีความทุกข์
เมื่อใดเบื่อหน่ายกับความทุกข์ ต้องการความสุขความหลุดพ้นที่แท้จริง
เราก็ต้องเดินไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ในระหว่างทางที่เดิน
เราก็ต้องพบกับอุปสรรคต่างๆมากมาย เราจะมั่นใจสักขนาดไหนเมื่อเจอกับ


ลาภสักการะ และเสียงสรรเสริญ
อานิสงส์ของศีล
อานิสงส์ของสมาธิ
อานิสงส์แห่งญาณทัสสนะ


สิ่งเหล่านี้ยังไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรหมจรรย์


จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรหมจรรย์

30 ส.ค. 2554

พระครูสมณธรรมสมาทาน-หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ




" แม้ข้าพเจ้าจะเคยเรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้น

 เปรียญธรรม ๖ ประโยค(ป.๖) 

ก็นึกได้แต่ว่าไปสวรรค์นรก ก็มีเรื่องพระมาลัย

และพระโมคคัลลานะเป็นต้น 

แต่ข้อว่าไปเที่ยวนิพพานได้นั้นข้าพเจ้าหมดความคิด

 ทั้งหมดความรู้ด้วย จึงพูดอะไรต่อไปไม่ได้

 หญิงคนนั้นยังท้าว่า

 เอาเถอะน่าวันหลังจะเอาหนังสือ

ของหลวงพ่อวัดปากน้ำไห้ดู เขาเรียนกันอย่างนั้น " 


         หลวงพ่อสด มีเมตตาปรานีเป็นนิสัย ใครเดือดร้อนมาไม่เคยปฏิเสธ ย่อมให้อุปการะตามสมควร แต่ไม่ชอบคนโกหก ถ้าจับโกหกได้แม้ครั้งเดียวท่านก็ว่าคนนี้เก๊ โกหกกระทั่งเรา ก็เป็นคนหมดดี เช่น คราวหนึ่งมีคนแก่มาเรียนกัมมัฏฐานมีศรัทธากล้า พอได้ผลแห่งการปฏิบัติบ้าง แต่ยังอ่อน กลับบ้านลาลูกเมียมาวัดปากน้ำอีก มีปลาแห้งตัวหนึ่งมาถวายหลวงพ่อ บอกว่ามีเท่านั้นเองเพราะเป็นความยากจน หลวงพ่อหัวเราะชอบใจ พูดว่า " เออ ! ให้มันได้อย่างนี้ซีน่า นี่แหละเขาเรียกว่าคนรวยแล้ว มีเท่าไรถวายจนหมด เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า นางปุณณฑาสี ถวายแป้งจี่ทำด้วยรำแก่พระพุทธเจ้า ต่อมากลายเป็นคนมั่งมี ปลาแห้งของเราตัวหนึ่งราคาสูงกว่ารำมากนัก เป็นกุศลมากแล้วที่นำมาให้" พูดกันไปมา ในที่สุดก็ขอร้องให้หลวงพ่อบวชให้ เพราะไม่มีสมณบริขารจะบวช หลวงพ่อก็ได้จัดการให้ความปรารถนาของเขาเป็นผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

29 ส.ค. 2554

พระผงสรรพดอกไม้หอมเช่น ดอกมะลิ (พระของขวัญ)




เมื่อการสร้าวโรงเรียนปริยัติธรรมเริ่มขึ้น หลวงพ่อได้สร้างพระพุทธรูปเป็นพระพิมพ์เล็กๆครั้ง


แรก๘๔,๐๐๐ องค์ผสมด้วยผงและสรรพดอกไม้หอมมีดอกมะลิเป็นต้น ที่ใช้บูชาพระประจำวัน


เช้าเย็นและนำออกตาก ได้มาผสมกับผง พิมพ์เป็นพระแจกแก่ผู้มาร่วมการกุศลในวัดนั้น


ปรากฏว่าเป็นที่นิยมของประชาชน เพราะหลวงพ่อท่านเข้าสมาธิปลุกเสกด้วยตัวเอง และรวม


ศิษย์ที่ได้ธรรมกายช่วยบรรจุอิทธิฤทธิ์อันเกิดแก่ธรรมกาย ช่วยกันทำเป็นเวลาแรมปี

พระของขวัญ วัดปากน้ำ รุ่น 1-3

28 ส.ค. 2554

บันทึกของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ




         กรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้า

ทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้
อย่างน้อยที่สุด 
แลง่ายที่สุดที่พระองค์ได้ทรงรู้แล้ว

แด่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้า
รู้ธรรมของพระองค์แล้วเป็นโทษแก่ศาสนา
ของพระองค์แล้ว
ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานเลย 
ถ้าเป็นคุณแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว 
ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณา
โปรดพระราชทานแด่ข้าพระองค์ 
ข้าพระองค์รับเป็นทนายศาสนาในศาสนาของพระองค์ตลอดชีวิต   

27 ส.ค. 2554

ธรรมของพระพุทธเจ้าต้องจริง ธรรมกายไม่เคยหลอกลวงใคร


 เจ้าคุณพระธรรมทัศนาธรได้ชี้แจงว่า 
คำว่า "ธรรมกาย" นั้น 
มีมาในพระสุตตันตปิฎก ท่านอ้างบาลีว่า 
ตถาคตสฺส วาเสฏฺฐา เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ 
ซึ่งพอจะแปลความได้ว่า 
"ธรรมกายนี้เป็นชื่อของตถาคต ดูกร วาเสฏฐะ"  

การปฏิบัติธรรมด้านพระกัมมัฏฐาน ถือว่าเป็นงานใหญ่ในชีวิตของท่าน ด้านคันถธุระมอบให้ศิษย์ที่เป็นเปรียญดำเนินงานไป นักปริยัตินักปฏิบัติเพิ่มจำนวนยิ่งขึ้น เพราะท่านมีความปรารถนาไว้ตั้งแต่มาครองวัดปากน้ำ และได้ปฏิญาณในพระอุโบสถว่า "บรรพชิตที่ยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข" ฉะนั้น ใครจะบ่ายหน้ามาพึ่งท่าน จึงไม่ได้รับคำปฏิเสธกลับไป ใครพูดถึงจำนวนภิกษุสามเณรว่ามากเกินไป ท่านดีใจกลับหัวเราะพูดว่า "เห็นคุณพระพุทธศาสนาไหมล่ะ" ถ้าพูดถึงเรื่องนี้เป็นถูกอารมณ์มากทีเดียว ท่านไม่พูดว่าเลี้ยงไม่ไหว มีแต่พูดว่า "ไหวซิน่า" แล้วก็หัวเราะ คิดว่าท่านคงปลื้มใจที่ความคิดความฝันของท่านเป็นผลสำเร็จขึ้น

25 ส.ค. 2554

ผู้ร้ายใช้ปืนยิงหลวงพ่อสดถูกจีวรท่านทะลุ ๒ รู


" ดอกไม้ที่หอม
ไม่ต้องเอาน้ำหอมมาพรม
ก็หอมเอง ใครจะห้ามไปได้ 
ซากศพไม่ต้องเอาของเหม็นมาละเลงใส่ 
ซากศพก็ต้องแสดงกลิ่นศพให้ปรากฏ ปิดกันไม่ได้ "  

การอบรมจิตใจดำเนินคู่กันมา ใครต้องการเรียนปริยัติเรียน ใครต้องการปฏิบัติธรรมปฏิบัติ ย่อมศึกษาได้ตามอัธยาศัย ไม่ได้อย่างเดียวคือไม่ยอมให้อยู่เปล่า ไม่ศึกษาไม่ปฏิบัติก็ทำหน้าที่การบริหารไป กิจการของท่านอยู่ในความเพ่งเล็งของประชาชน

7 ก.ค. 2554

จัดการศึกษาให้เด็กนักเรียนและภิกษุสามเณร

        
           ฉันมาอยู่วัดปากน้ำ จะพยายามตั้งใจประพฤติให้เป็นไปตามแนวพระธรรมวินัย พวกพระเก่า ๆ จะร่วมกันก็ได้ หรือจะไม่ร่วมด้วยก็แล้วแต่อัธยาศัย ฉันไม่รบกวนด้วยอาการใด ๆ เพราะถือว่าทุกคนรู้สึกผิดชอบด้วยตนเองดีแล้ว ถ้าไม่
ร่วมใจก็ขออย่าขัดขวาง ฉันก็จะไม่ขัดขวางผู้ไม่ร่วมมือเหมือนกัน ต่างคนต่างอยู่ แต่ต้องช่วยกันรักษาระเบียบของวัด คนจะเข้าออกต้องบอกให้รู้ ที่แล้วมาไม่เกี่ยวข้อง เพราะยังไม่อยู่ในหน้าที่ จะพยายามรักษาเมื่ออยู่ในหน้าที่ นี้เป็นโอวาทที่หลวงพ่อให้แก่ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา เมื่อไปปกครองวัดนั้นผู้เขียนได้ร่วมประชุมอยู่ด้วย

         ครั้นต่อไปถูกมรสุมขนาดหนัก โอวาทนั้นกลายเป็นคำพูดที่อวดดีไป แต่หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านทำเป็นไม่รู้เท่าทัน ไม่ปริปากโต้แย้งอย่างไร แต่ภายในเร่งรัดกวดขันภิกษุสามเณรยิ่งขึ้น แต่กวดขันได้แต่พวกที่ติดตามและภิกษุสามเณรที่เข้าสำนักใหม่ เปิดการสอนกรรมฐานเป็นหลักฐานขึ้น ประชาชนต้อนรับด้วยปสาทะแต่ส่วนมากเป็นชาวบ้านตำบลเมืองอื่น และมาจากไกล ส่วนข้างเคียงก็มีบ้าง เวลาย่ำค่ำแล้วมีการอบรมภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกาทุกวัน แล้วบำเพ็ญสมณธรรมด้วย ความดีเริ่มฉายรัศมี ความเดือดร้อนก็เป็นเงาแฝงมา

5 ก.ค. 2554

ท่านมุ่งธรรมปฏิบัติ-มาอยู่วัดปากน้ำ-หลวงพ่อสด

          
       ต่อจากนั้นท่านก็มุ่งธรรมปฏิบัติ เบื้องต้นอ่านตำราก่อน โดยมากใช้วิสุทธิมรรค ท่านศึกษาตามแบบแผนเพื่อจับเอาหลักให้ได้ก่อน ประกอบกับนักศึกษาทางปฏิบัติกับอาจารย์ท่านได้ผ่านอาจารย์มามาก เช่นเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (มุ้ย) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ พระครูญาณวิรัต (โป๊) วัดพระเชตุพน พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ จังหวัดธนบุรี พระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ใครว่าดีที่ไหนท่านพยายามเข้าศึกษา เมื่อมีความรู้พอสมควร ได้ออกจากวัดพระเชตุพนไปจำพรรษาต่างจังหวัดเพื่อเผยแพร่ธรรมวินัยตามอัธยาศัยของท่าน แต่ส่วนมากแนะนำทางปฏิบัติการเทศนาท่านใช้ปฏิภาณ

4 ก.ค. 2554

ประวัติอุปสมบท-การศึกษา-หลวงพ่อสด (วัดปากน้ำ)


" เมื่อเราอดอยาก อุบาสิกานวมได้อุปการะเรา ครั้นอุบาสิกานวมยากจน เราได้ช่วยอุปถัมภ์ ที่สุดต่อที่สุดมาพบกันจึงเป็นมหากุศลอันยากที่จะหาได้ง่าย ๆ "


" การศึกษานั้นเปลี่ยนชีวิตผู้ศึกษาให้สูงกว่าพื้นเดิม คนที่มีการศึกษาดีจะได้อะไรก็ดีกว่า ประณีตกว่าผู้อื่น คนมีวิชาเท่ากับได้สมบัติจักรพรรดิ ใช้ไม่หมด"

อุปสมบท

         เดือนกรกฎาคม ๒๔๔๙ ต้นเดือน ๘ ท่านได้อุปสมบท เวลานั้นอายุย่างเข้า ๒๒ ปี บวช ณ วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีฉายาว่า จนฺทสโร

30 มิ.ย. 2554

ประวัติก่อนบวช-สะสมทรัพย์เพื่อให้มารดา-หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ


             " บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า เมื่อได้โอกาสท่านได้จุดธูปเทียนบูชาพระ อธิษฐานว่า"ขอเราอย่าได้ตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต"นี้ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ ๑๙ ปี "


ประวัติหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ อ.ภาษีเจริญ จ.ธนบุรี

 พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ)


สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร

 บทความเบื้องต้น

          เมื่อการบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานสัตตมวาร และปัญญาสมวารล่วงแล้ว มีท่านที่เคารพนับถือมาขอร้องให้พิมพ์ประวัติของเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี แจกจ่ายแก่ท่านที่เคารพนับถือและศิษยานุศิษย์เพื่อเป็นอนุสรณ์ต่อไป และบางท่านก็ปรารถนาจะร่วมการกุศลในการพิมพ์นั้นด้วย

28 มิ.ย. 2554

ดวงปฐมมรรค-ดวงแก้ว-หนทางมรรคผลนิพพาน


คำสอนของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ เริ่มต้นที่คำว่า " หยุด "

ทำใจ หยุด ใจ นิ่ง ให้ได้ก่อน พอใจหยุดจะพบดวงปฐมมรรค

หนทางมรรคผล นิพพาน เบื้องต้น เป็นดวงกลมใส

มีแสงสว่างในตัวเอง ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

อยู่กึ่งกลางท้อง เหนือสะดือ ๒ นิ้วมือ มีอยู่ในตัวของทุกคน

เหมือนคติธรรมที่หลวงพ่อให้ไว้ว่า

                   " เกิดมา ว่าจะมาหาแก้ว

                พบแล้วไม่กำ จะเกิดมาทำไม