28 ส.ค. 2554

บันทึกของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ




         กรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้า

ทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้
อย่างน้อยที่สุด 
แลง่ายที่สุดที่พระองค์ได้ทรงรู้แล้ว

แด่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้า
รู้ธรรมของพระองค์แล้วเป็นโทษแก่ศาสนา
ของพระองค์แล้ว
ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานเลย 
ถ้าเป็นคุณแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว 
ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณา
โปรดพระราชทานแด่ข้าพระองค์ 
ข้าพระองค์รับเป็นทนายศาสนาในศาสนาของพระองค์ตลอดชีวิต   

       ชาติภูมิเดิมเป็นพ่อค้า เข้าตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านหมู่เหนือของวัดสองพี่น้องคือทิศใต้ของวัดแต่ต่างฝั่งกับวัด วัดอยู่ตะวันออกเฉียงเหนือ บ้านอยู่ตะวันตกเฉียงใต้ มีคลองกั้นเป็นระหว่างวัดกับบ้าน ค้าขายมาตั้งแต่อายุ14ปีเศษๆนับตั้งแต่บิดาล่วงไปก็เป็นพ่อค้าแทนบิดาจนถึงอายุ19ปี ตรงนี้ได้ปฏิญาณตัวบวชจนตาย ด้วยมามีอุปสรรคเกิดขึ้นในระหว่างขายข้าวแล้วนำเรือเปล่ากลับบ้าน เข้าลัดที่คลองบางอีแท่น เหนือตลาดใหม่ แม่น้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ในลัดนี้ไม่สู้ไกลนัก แต่พวกโจรชุกชุม แต่พอเข้าลัดไปเล็กน้อย ก็มาคิดแต่ในใจของตัวว่า คลองก็เล็กโจรก็ร้าย ท้ายเรือเข้าก็ไล่เลี่ยกับฝั่ง ไม่ต่ำไม่สูงกว่ากันเท่าไหร่นัก น่าหวาดเสียวอันตราย เมื่อโจรมาก็ต้องยิงเรือหรือทำร้ายคนท้ายก่อน ถ้าเขาทำเราเสียได้ก่อนก็ไม่มีทางที่จะสู้เขาถ้าเราเอาอาวุธปืนแปดนัดไว้ทางหัวเรือ แล้วเราไปถ่อเรือทางลูกจ้างเสีย เมื่อโจรมาทำร้ายเราก็จะมีทางสู้ได้บ้าง คิดดังนี้แล้วก็เรียกลูกจ้างเสียเมื่อโจรมาทำร้ายเราก็จะมีทางสู้ได้บ้าง คิดดังนี้แล้วก็เรียกลูกจ้างที่ถ่อเรือแถบทรายมาถือท้าย เราออกไปถ่อแทน ถ่อเรือไปก็คิดไป เรือก็เดินไปหาที่เปลี่ยวหนักขึ้นทุกที ความคิดก็ถี่ขึ้นว่า ลูกจ้างที่เราจ้างมานี้ คนหนึ่งก็ไม่กี่บาท เพียง 11 บาท หรือ 12 บาทเท่านั้น ส่วนตัวเราเป็นเจ้าของทั้งทรัพย์   

   ทั้งเรือหมด ส่วนตายจะให้ลูกจ้างตายก่อนไม่ถูก เอาเปรียบลูกจ้างมากเกินไปไม่สมควร ถ่อไปก็คิดไปดังนี้และคิดถี่หนักเข้าก็ตัดสินใจเด็ดขาดออกไป เราเป็นเจ้าของให้เราตายก่อนดีกว่าจึงจะสมควร คิดตกลงแล้วก็เรียกลูกจ้างให้มาถ่อตัว ก็หยิบปืนแปดนัดที่เอาไว้ข้างหัวเรือมาไว้ใกล้ตัว ข้างท้ายเรือก็ถือท้ายเรื่อยไปใกล้ออกจากลัดเต็มที น้ำก็ขึ้นเรือข้าวที่หนักก็ตามหัวน้ำขึ้นสวนเข้ามาประดังกันแน่น จีนก็ส่งเสียงแต่ว่า ตู้อ่าๆ ประดังกันแน่น ออกก็ไม่ได้ เข้าไปไม่ได้น้ำก็น้อย เลยต้องต่างฝ่ายต่างก็ปักหลักกรานหน้าจอดกันนิ่งอยู่ เราเป็นคนท้าย ผ่านพ้นอันตรายมาแล้วก็มาคิดว่า การหาเงินทองนี้ลำบาก จริงๆเจียวหนา บิดาของเราก็หามาดังนี้เราก็หาซ้ำรอยบิดาตามบิดาบ้าง เงินแลทองที่หากันทั้งหมดด้วยกันนี้ต่างคนก็ต่างหาไม่มีเวลาหยุดด้วยกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่เร่งรีบหาให้มั่งมีก็เป็นคนต่ำและเลวไม่มีใครนับถือแลคบหาเข้าหมู่เขาก็อายเขา เพราะเป็นคนจนกว่าเขาไม่เทียบหน้าเทียมบ่าเทียมไหล่กับเขาท่านเป็นคนมีนิสสัยชอบก้าวหน้า มุ่งไปสู่ความเจริญ ท่านพบกับญาติหรือคนชอบพอแล้วถามถึงการประกอบอาชีพ ถ้าทราบว่าผู้ใดเจริญขึ้นก็แสดงมุทิตาจิต เมื่อทราบว่าทรงตัวอยู่หรือทรุดลงท่านก็จะพูดว่า หากินอย่างไก่ หาได้ไม่มีเก็บ อย่างนี้ต้องจนตาย ควรหาอุบายใหม่เมื่ออายุ ๑๙ ปี ระหว่างที่ทำการค้าอยู่นั้น ความคิดอันประกอบด้วยความเบื่อหน่ายเกิดแก่ท่าน เป็นทั้งนี้ก็น่าจะลำบากใจอันเกี่ยวแก่อาชีพ เพราะต้องเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงทำงานเลี้ยงมารดา และรับผิดชอบในกิจการต่าง ๆ โดยเกิดธรรมสังเวชขึ้นในใจว่า "การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมีก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอายไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า" เมื่อได้โอกาสท่านได้จุดธูปเทียนบูชาพระ อธิษฐานว่า "ขอเราอย่าได้ตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต" นี้ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ ๑๙ ปีหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อตกลงใจบวชไม่สึกแล้ว จิตคิดเป็นห่วงมารดาเกิดขึ้น จึงขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์เพื่อให้มารดาเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต เมื่อจะเทียบราคาเงินในบัดนี้กับสมัยก่อน ๕๐ ปีที่ล่วงมานั้น ไกลกันมาก เพราะเมื่อก่อน ๕๐ ปี กล้วยน้ำว้า ๑๐๐ หวี เป็นราคา ๕๐ สตางค์ สมัยก่อนใช้อัฐ เรียกว่า ๑๐๐ ละ ๒ สลึง บางคราว ๑๐๐ เครือ ต่อเงิน ๒.๕๐ บาท เพราะเงินจำนวนชั่งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำหาให้มารดานั้น ก็ย่อมมีราคาสูงสุดในสมัยนั้น และย่อมเป็นน้ำเงินที่อาจเลี้ยงชีวิตจนตายได้จริง ถ้าหากน้ำเงินไม่มีราคาต่ำลงเช่นปัจจุบันนี้ แต่ก็ประหลาดที่มารดาของท่านมีอายุยืนมาจนถึงยุคกล้วยน้ำว้าหวีละบาทกว่า


 อุปสมบท


 เดือนกรกฎาคม ๒๔๔๙ ต้นเดือน ๘ ท่านได้อุปสมบท เวลานั้นอายุย่างเข้า ๒๒ ปี บวช ณ วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีฉายาว่า จนฺทสโรพระอาจารย์ดี วัดประตูศาล อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์พระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์คู่สวด อยู่วัดเดียวกัน คือวัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง ๑ พรรษา ปวารณาพรรษาแล้ว เดินทางมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพน กรุงเทพฯ เพื่อเล่าเรียนพระธรรมวินัยต่อไปการศึกษาของภิกษุสามเณรสมัยนั้น การเรียนบาลีต้องท่องสูตรก่อน เมื่อท่องจบสูตรเบื้องต้นแล้ว จึงเริ่มจับเรียนมูล เริ่มแต่เรียนสนธิขึ้นไป หลวงพ่อวัดปากน้ำเริ่มต้นโดยวิธีนี้แล้ว เรียน นาม สมาส ตัทธิต อาขยาต กิตก์ แล้วเริ่มขึ้นคัมภีร์ จับแต่พระธรรมบทไป ท่านเรียนธรรมบทจบทั้ง ๒ บั้น เมื่อจบ ๒ บั้นแล้วกลับขึ้นต้นใหม่ เรียนมงคลทีปนีและสารสังคหะคามความนิยมของสมัย จนชำนาญและเข้าใจและสอนผู้อื่นได้  เมื่อกำลังเรียนอยู่นั้น ท่านต้องพบกับความลำบากมาก สมัยนั้นเรียนกันตามกุฏิ ต้องเดินไปศึกษากับอาจารย์ตามวัดต่าง ๆ เมื่อฉันเช้าแล้วข้ามฟากไปเรียนที่วัดอรุณราชวราราม กลับมาฉันเพลที่วัด เพลแล้วไปเรียนวัดมหาธาตุ ตอนเย็น ไปเรียนที่วัดสุทัศน์บ้าง วัดสามปลื้มบ้าง กลางคืนเรียนที่วัดพระเชตุพน แต่ไม่ได้ไปติด ๆ กันทุกวัน มีเว้นบ้าง สลับกันไป
 สมัยที่ท่านศึกษาอยู่นั้น กำลังนิยมใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน และนักเรียนที่ไปขอศึกษากับอาจารย์นั้น บทเรียนไม่เสมอกันต่างคนต่างเรียนตามสมัครใจ กล่าวคือบางองค์เรียนธรรมบทบั้นต้น บางองค์เรียนบั้นปลาย ยิ่งนักเรียนมาก หนังสือที่เอาไปโรงเรียนก็เพิ่มจำนวนขึ้น เช่นนักเรียน ๑๐ คน เรียนหนังสือกันคนละผูก นักเรียนที่ไปเรียนนั้นก็ต้องจัดหนังสือติดตัวไปครบจำนวนนักเรียน เป็นทั้งนี้ก็เพราะนอกจากเรียนตามบทเรียนของตนแล้วเอาหนังสือไปฟังบทเรียนของคนอื่นด้วย ช่วยให้ตนมีความรู้กว้างขวางขึ้น ฉะนั้นปรากฏว่านักเรียนต้องแบกหนังสือไปคนละหลายผูก แบกจนไหล่ลู่ คือว่าหนังสือเต็มบ่าหลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นนักเรียนประเภทดังกล่าว ท่านพยายามไม่ขาดเรียน แบกหนังสือข้ามฟากลงท่าประตูนกยูงวัดพระเชตุพนไปขึ้นท่าวัดอรุณฯ เข้าศึกษาในสำนักนั้น ท่านเล่าให้ฟังว่าลำบากอยู่หลายปี ความเพียรของท่านจนชาวประตูนกยูงเกิดความเลื่อมใสได้ปวารณาเรื่องภัตตาหาร คืออาราธนาท่านรับบิณฑบาตเป็นประจำและขาดสิ่งใดขอปวารณา ระยะนี้ท่านเริ่มมีความสุขขึ้น เรื่องภัตตาหารมีแม่ค้าขายข้าวแกงคนหนึ่งจัดอาหารเพลถวายเป็นประจำ แม่ค้าคนนี้ชื่อนวม เมื่อหลวงพ่อย้ายมาวัดปากน้ำ แม่ค้าผู้นี้ทุพพลภาพลงเพราะความชราขาดผู้อุปการะ ท่านได้รับตัวมาอยู่วัดปากน้ำได้อุปการะทุกวิถีทาง เมื่อสิ้นชีวิตก็ได้จัดการฌาปนกิจศพให้ หลวงพ่อว่าเป็นมหากุศล เมื่อเราอดอยาก อุบาสิกานวมได้อุปการะเรา ครั้นอุบาสิกานวมยากจน เราได้ช่วยอุปถัมภ์ ที่สุดต่อที่สุดมาพบกันจึงเป็นมหากุศลอันยากที่จะหาได้ง่าย ๆท่านเดินทางไปศึกษาในสำนักต่าง ๆ อยู่หลายปี ครั้นต่อมามีผู้เลื่อมใสในตัวท่านมากขึ้น พวกข้าหลวงในวังกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ซึ่งชาวบ้านใกล้เคียงเรียกว่า วังพระองค์เพ็ญ เลื่อมใสในท่าน เวลาเพลช่วยกันจัดสำรับคาวหวานมาถวายทุกวัน นับว่าเป็นกำลังส่งเสริมให้สะดวกแก่การศึกษาเป็นอย่างดี เมื่อได้กำลังในด้านส่งเสริมเช่นนี้ หลวงพ่อจึงจัดการตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดพระเชตุพน โดยใช้กุฏิของท่านเป็นโรงเรียน สมัยนั้นโรงเรียนวัดพระเชตุพนมีหลายแห่ง ใครมีความสามารถก็ตั้งได้ หลวงพ่อวัดปากน้ำสมัยนั้น ท่านได้พระมหาปี วสุตตมะ เปรียญ ๕ ประโยคเป็นครูสอน โดยท่านจัดหานิตยภัตถวายเอง มหาปี วสุตตมะ ผู้นี้มาจากวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนคร ติดตามพระสมเด็จพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) มา เมื่อคราวสมเด็จฯ จากวัดมหาธาตุมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน ท่านตั้งโรงเรียนเองและเข้าศึกษาด้วยตนเอง ด้วยเรียนขึ้นธรรมบทใหม่ ท่านว่าฟื้นความจำทบทวนให้ดีขึ้น มีภิกษุสามเณรเข้าศึกษา ๑๐ กว่ารูปต่อมาการศึกษาทางบาลีเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม ทางคณะสงฆ์จัดหลักสูตรการศึกษา เริ่มให้เรียนไวยากรณ์ วัดพระเชตุพนดำเนินตามแนวนั้น และได้รวมการศึกษาเป็นกลุ่มเดียวกัน การศึกษาตามแบบเก่าต้องยุบตัวเองเพื่อให้เข้ายุคไวยากรณ์ โรงเรียนที่กล่าวถึงนี้ก็ระงับไปหลวงพ่อวัดปากน้ำได้ตั้งใจศึกษาจนเข้าใจตามหลักสูตรนั้น ๆ แต่ไม่ได้แปลในสนามหลวง แม้การสอบเปลี่ยนจากแปลด้วยปากมาเป็นสอบด้วยการเขียนตอบ ท่านก็ไม่ได้สอบ เพราะการเขียนของท่านไม่ถนัดมากนักและอีกประการหนึ่งท่านไม่ปราถนาด้วย แต่สำหรับผู้อื่นแล้วท่านส่งเสริมและให้กำลังใจ โดยพูดเสมอว่าการศึกษานั้นเปลี่ยนชีวิตผู้ศึกษาให้สูงกว่าพื้นเดิม คนที่มีการศึกษาดีจะได้อะไรก็ดีกว่า ประณีตกว่าผู้อื่น คนมีวิชาเท่ากับได้สมบัติจักรพรรดิ ใช้ไม่หมดต่อจากนั้นท่านก็มุ่งธรรมปฏิบัติ เบื้องต้นอ่านตำราก่อน โดยมากใช้วิสุทธิมรรค ท่านศึกษาตามแบบแผนเพื่อจับเอาหลักให้ได้ก่อน ประกอบกับนักศึกษาทางปฏิบัติกับอาจารย์ท่านได้ผ่านอาจารย์มามาก เช่นเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (มุ้ย) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ พระครูญาณวิรัต (โป๊) วัดพระเชตุพน พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ จังหวัดธนบุรี พระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ใครว่าดีที่ไหนท่านพยายามเข้าศึกษา เมื่อมีความรู้พอสมควร ได้ออกจากวัดพระเชตุพนไปจำพรรษาต่างจังหวัดเพื่อเผยแพร่ธรรมวินัยตามอัธยาศัยของท่าน แต่ส่วนมากแนะนำทางปฏิบัติการเทศนาท่านใช้ปฏิภาณในพรรษาที่ 12 แต่พอได้กึ่งพรรษาก็มาหวนระลึกขึ้นว่า ในเมื่อเราตั้งใจจริงๆในการบวชจำเดิมอายุสิบเก้าเราได้ปฏิญาณตนบวชจนตายขออย่าให้ตายในระหว่างก่อนบวช บัดนี้ก็ได้บอกลามาถึง 15 พรรษา ย่างเข้าพรรษานี้แล้ว ก็พอแก่ความประสงค์ของเราแล้ว บัดนี้ของจริงที่พระพุทธเจ้าท่านรู้ท่านเห็น เราก็ยังไม่ได้บรรลุยังไม่รู้ไม่เห็นสมควรแล้วที่จะต้องกระทำอย่างจริงจังเมื่อตกลงใจ ได้ดังนี้แล้ว วันนั้นเป็นวันกลางเดือน 10 ก็เริ่มเข้าโรงอุโบสถแต่เวลาเย็น ตั้งสัจจาธิษฐานแน่นอนลงไปว่า ถ้าเรานั่งลงไปครั้งนี้ไม่เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าต้องการเป็นอันไม่ลุกจากที่นี้จนหมดชีวิต เมื่อตั้งจิตมั่งลงไป แล้วก็เริ่มปรารถนั่ง จึงได้แสดงความอ้อนวอนแด่พระพุทธเจ้าว่า ขอพระองค์ได้ทรงพระ   


 กรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้าทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้อย่างน้อยที่สุด แลง่ายที่สุดที่พระองค์ได้ทรงรู้แล้วแด่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมของพระองค์แล้วเป็นโทษแก่ศาสนาของพระองค์แล้วขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานเลย ถ้าเป็นคุณแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานแด่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์รับเป็นทนายศาสนาในศาสนาของพระองค์ตลอดชีวิต แต่พออ้อนวอนเสร็จแล้ว ก็เริ่มปรารถเข้าที่นั่งสมาธิต่อไป มานึกถึง มดคี่ ที่ตามช่องของแผ่นหินที่ยาวๆ แลบนแผ่นหินบ้าง ไต่ไปมาอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก จึงหยิบเอาขวดน้ำมันก๊าดมา เอานิ้วจุกเข้าที่ปากขวด แล้วตะแคงขวดให้เปียกนิ้วเข้า แล้วเอามาลากเป็นทางให้รอบตัวจะได้กันไม่ให้มาทำอันตรายในเวลานั่งลงไปแล้ว แต่พอทางนิ้วที่เปียกน้ำมันนั้นไม่ทันถึงครึ่งของวงตัวที่นั่ง ความคิดอันหนึ่งเกิดขึ้นว่าชีวิตสละได้ แต่ทำไมยังกลัว มดคี่ อยู่เล่า ก็นึกอายตัวเองขึ้นมาเลย วางขวดน้ำมันเข้าที่เลยในเดี่ยวนั้น



             ประมาณครึ่งหรือค่อนคืนไม่มีนาฬิกาไม่แน่ ก็เห็นผังของจริงของพระพุทธเจ้า (ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ใน หนังสือธรรมกายที่คุณพระทิพย์ปริญญา เรียบเรียงพิมพ์แจกไปแล้ว) ในขณะนั้นก็มาปริวิตกว่า คัมภีร์โรจายังธรรมเป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัยของความตรึก นึก คิด ถ้ายังตรึก นึก คิด อยู่ก็เข้าไม่ถึง ที่จะเข้าถึงต้องทำให้รู้ตรึก นึกรู้คิดนั้น หยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด ตรองดูเถิด ท่านทั้งหลายนี้เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้ก็ไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด 
           วิตกอยู่ดังนี้สักครู่ใหญ่ๆก็กลัวว่า ความมีความเป็นนั้นจะเลือนไปเสีย จึงเข้าที่ต่อไปใหม่ราวสักสามสิบนาที ก็เห็น วัดบางปลา ปรากฏเหมือนตัวเองไปอยู่ที่วัดนั้นแต่พอชัดดีก็รู้สึกตัวขึ้นมา จึงมีความรู้สึกขึ้นมาว่าจะมีผู้รู้ผู้เห็นได้ยากนั้น ในวัดบางปลา นี้จะต้องมีผู้รู้ผู้เห็นได้แน่นอน จึงมาปรากฏขึ้นบัดนี้ ต่อแต่นั้นมาก็คำนึงที่จะไปสอนที่วัดนั้นอยู่เรื่อยๆมาจนถึงออกพรรษารับกฐินแล้ว ก็ลาสมภารวัดบางคูเวียง ไปสอนที่วัดบางปลาราวสี่เดือน มีพระทำเป็นสามรูป คฤหัสถ์สี่คน นี้เริ่มต้นแผ่ธรรมกายของจริง ที่แสวงหาได้มาจริงปรากฏอยู่จนบัดนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น