2 ก.ย. 2554

สมาธิ-ภาวนา-ตามแบบของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ


ในรูปภาพด้านบน เป็นรูปภาพตัดของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ 
ที่มาวาด ให้เห็นรายละเอียดได้ชัดเจน 
ถึงตำแหน่งทางเดินของจิตทั้งฐานที่ ๑ ถึง ฐานที่ ๖ 
และตำแหน่งที่สำคัญคือที่ตั้งของใจ ฐานที่ ๗  
ในการปฏิบัติจริงๆเมื่อเรารู้ถึงฐานที่ตั้งทั้ง ๗ ฐาน หมดแล้ว
เราจะมากำหนดรู้อยู่ที่ฐานที่ ๗ ที่เดียว ไม่เคลื่อนไป เคลื่อนมา
ในฐานอื่นๆอีก เพราะฐานที่ ๗ เป็น ศูนย์กลางกาย เป็นที่ประทับอยู่
ขององค์พระภายในตัวเรา คือ พระธรรมกาย

การทำสมาธิภาวนาตามแบบของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ เป็นต้นแบบเดิมที่เขียนไว้ใน

หนังสือคู่มือสมภาร ได้เขียนเริ่มเรื่องวิธีทำสมาธิไว้ว่า
     การทำภาวนา จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ทำ จะต้องมีใจและอารมณ์ปลอดโปร่ง ว่างจากกิจที่
 กังวลทั้งปวง เพราะถ้า


หากมีความกังวลมากนัก ก็อาจทำให้สมาธิไม่แน่วแน่ ฉะนั้น ถ้ามีความตั้งใจว่าทำสมาธิแล้ว ก็พึงละ


ความกังวลใหญ่น้อยทั้งปวงเสียให้สิ้น มุ่งแต่ธรรมอย่างเดียว แม้ความรู้ในทางธรรมใด ๆ ที่ได้เล่าเรียน


มาแล้ว ก็ควรพยายามปล่อยวางให้สิ้นเสียก่อน หากไม่ทำเช่นนั้น ก็จะเกิดเป็นวิจิกิจฉาขึ้น ทำให้ผู้ปฏิบัติ


ไม่เห็นธรรมได้ตามต้องการ เมื่อรู้แน่ชัดเช่นนี้แล้ว จะได้กล่าวถึงวิธีนั่งต่อไป      หลังจากการสวดมนต์


ไหว้พระรัตนตรัยแล้ว พึงนั่งคู้บัลลังก์ขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้มือขวาจรด


หัวแม่มือซ้าย หลับตาพอหนังตาติดกันสบาย ๆ ตั้งกายให้ตรงจนยืดตัวไม่ได้ต่อไป ที่เรียกว่า อุชุ˚ กายํ 


ปณิธาย ตั้งกายให้ตรง ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตวาเข้าไปตั้งสติไว้ให้มีหน้ารอบ ไม่เผลอ (ตรงกับพระขี


นาสพผู้มีสติเป็นวินัย) มีสติทุกเมื่อ นี่เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ สติไม่เผลอจาก


บริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิตให้ติดกันไม่แยกจากกัน บริกรรมภาวนาได้แก่ คำว่า “สัมมา อะระหัง 


ส่วนบริกรรมนิมิตนั้น คือ กำหนดเครื่องหมายขาวใส เหมือนเพชรเม็ดลูกที่เจียระไนแล้ว เหมือนดวงแก้ว


กลม ๆ ที่ใสบริสุทธิ์ ปราศจากไฝฝ้าหรือมลทินใด ๆ สัณฐานกลมรอบตัว บริกรรมทั้งสองนี้พึงตรึกไว้ให้


ได้อยู่เสมอ ในอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ให้เผลอจากสติได้ และนี่เองเป็นของสำคัญ ใน


เรื่องที่ทำเป็นหรือทำไม่เป็น


     ในชั้นต้นสำหรับผู้เริ่มปฏิบัติ ควรกำหนดรู้จักฐานที่ตั้งของดวงนิมิตเสียก่อน เพื่อจะได้รู้จักทาง

ไปเกิดมาเกิดของตนเองไว้บ้าง ฐานที่ตั้งนี้แบ่งเป็น ๗ ระยะ คือ
 ฐานที่ ๑ ปากช่องจมูก หญิงซ้าย ชายขวา ตรงกลางพอดี ไม่ล้ำเข้าไป ไม่เหลื่อมออกมาฐานที่ ๒ เพลา

ตา หญิงซ้าย ชายขวา ตรงหัวตาพอดีฐานที่ ๓ กลางกั๊กศีรษะกับจอมประสาท ได้ระดับตา แต่อยู่ภายใน

ตรงศูนย์กลาง คือ จากดั้งจมูกตรงไปจรดท้ายทอย จากเหนือหูซ้ายไปเหนือหูขวา ตรงกลางที่เส้นทั้ง ๒ 

ตัดกันนั่นเองเป็นฐานที่ ๓ฐานที่ ๔ ปากช่องเพดาน ไม่ให้ล้ำเหลื่อม เหนือลิ้นไก่ ตรงที่รับประทานอาหาร

สำลักฐานที่ ๕ ปากช่องลำคอ เหนือลูกกระเดือก อยู่กลางทีเดียวฐานที่ ๖ สุดลมหายใจเข้าออก คือ 

กลางตัว ตรงระดับสะดือ แต่อยู่ภายใน
ฐานที่ ๗ ถอยหลังกลับขึ้นมา เหนือระดับสะดือประมาณ ๒ นิ้ว ในกลางตัว
     กำหนดดวงนิมิตเครื่องหมายขาวใส ไปหยุดตามฐานนั้น ๆ พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “สัมมา
อะระหัง” จำนวน ๓ ครั้ง แล้วเลื่อนดวงนิมิตนั้นต่อไป 

  สำหรับฐานที่ ๓ เวลาที่จะเลื่อนดวงนิมิตต่อไป ต้องเหลือกตากลับเข้าข้างใน คล้ายคนนอนกำลังจะ


หลับ แต่แล้วก็ปล่อยให้เป็นไปตามปกติ ทั้งนี้ เพื่อให้ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ กลับเข้าข้างใน 


เพราะจะต้องดูด้วยตาละเอียด     เมื่อเลื่อนดวงนิมิตลงไปจนถึงฐานที่ ๗ แล้ว ในฐานที่ ๗ นั้น มีศูนย์อยู่ 


๕ ศูนย์ คือ ศูนย์กลาง, หน้า, ขวา, หลัง, ซ้าย, ศูนย์หน้าเป็นธาตุน้ำ ขวาธาตุดิน หลังธาตุไฟ ซ้ายธาตุลม 


ศูนย์กลางเป็นอากาศธาตุ ตรงกลางอากาศธาตุได้แก่วิญญาณธาตุ ธาตุเหล่านี้ประชุมกันเป็นกายมนุษย์


ขึ้น และที่ศูนย์กลางกายนี้คือ ศูนย์กำเนิดกายมนุษย์นั่นเอง
     ถ้าหากรู้จักทางคือ ฐานที่ตั้งเหล่านี้แล้ว ในการทำคราวหลังจะเอาใจไปจรดที่ดำเนิดของ
มนุษย์ทีเดียวก็ได้
 

   คู่มือสมภาร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น