การประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของทุกคน เพราะว่า ทุกคนก็ยังมีความทุกข์
เมื่อใดเบื่อหน่ายกับความทุกข์ ต้องการความสุขความหลุดพ้นที่แท้จริง
เราก็ต้องเดินไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ในระหว่างทางที่เดิน
เราก็ต้องพบกับอุปสรรคต่างๆมากมาย เราจะมั่นใจสักขนาดไหนเมื่อเจอกับ
ลาภสักการะ และเสียงสรรเสริญ
อานิสงส์ของศีล
อานิสงส์ของสมาธิ
อานิสงส์แห่งญาณทัสสนะ
สิ่งเหล่านี้ยังไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรหมจรรย์
จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ
เป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์,
พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้
มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ;
ภิกษุ ท.! ก็เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ อันใดมีอยู่, พรหมจรรย์นี้
มีเจโตวิมุตตินั่นแหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย, มีเจโตวิมุตตินั่นแหละเป็น
แก่นสาร, เจโตวิมุตติ นั่นแหละเป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ แล.
บาลี พระพุทธภาษิต มหาสาโรปมสูตร มู.ม. ๑๒/๓๗๓/๓๕๒เป้าหมายของผู้ถือพรหมจรรย์ 5 จำพวก
เรื่องนี้สรุปความจากพระไตรปิฎก มหาสาโรปมสูตร โอปัมมวรรค พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4
เรื่องนี้สรุปความจากพระไตรปิฎก มหาสาโรปมสูตร โอปัมมวรรค พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้พระ พุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบการออกบวชเพื่อ
การเข้าถึงแก่นของศาสนาว่า เหมือนผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะ
หาแก่นไม้ โดยทรงแบ่งไว้ 5 จำพวกคือ
1.) บางคนเมื่อออกบวชแล้ว ได้รับลาภสักการะ และความสรรเสริญ เขามี
ความยินดี พอใจ
ในสิ่งเหล่านั้น ลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งเหล่านั้น ยกตนข่มผู้อื่นว่า ตนมีลาภสักการะ และได้รับคำ
สรรเสริญมากกว่าผู้อื่นเปรียบเสมือนผู้แสวงหาแก่นไม้ ไปพบต้นไม้ใหญ่ แล้วตัดเอากิ่งและ
ใบถือไป โดยเข้าใจผิด
คิดว่านั่นคือแก่นไม้ เขาย่อมไม่ได้แก่นไม้ ฉันใด ผู้ที่ออกบวชแล้วติดอยู่ที่ลาภสักการะ และ
ความสรรเสริญ ย่อมเข้าไม่ถึงแก่นของศาสนา ฉันนั้น เพราะเขาได้ถือเอากิ่งและใบของ
พรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กิ่งและใบนั้น
2.) บางคนเมื่อออกบวชแล้ว ได้รับลาภสักการะ และความสรรเสริญ แต่เขาไม่มีความ
2.) บางคนเมื่อออกบวชแล้ว ได้รับลาภสักการะ และความสรรเสริญ แต่เขาไม่มีความ
ยินดี
ในสิ่งเหล่านั้น ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งเหล่านั้น ไม่ประมาท ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะลาภ
สักการะ และความสรรเสริญนั้น
เมื่อ ไม่ประมาท เขาจึงมีความเพียรในการถือศีลให้บริสุทธิ์ เขามีความยินดี พอใจในความ
บริสุทธิ์ของศีลนั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ผู้อื่นเป็นผู้ทุศีล มีบาป
ธรรม เขาย่อมมัวเมา มีความประมาทเพราะความบริสุทธิ์ของศีลนั้น
เปรียบเสมือนผู้แสวงหาแก่นไม้ ไปพบต้นไม้ใหญ่ แล้วถากเอาสะเก็ดถือไป คิดว่านั่นคือแก่น
ไม่เขาย่อมไม่ได้แก่นไม้ ฉันใด ผู้ที่ออกบวชแล้วติดอยู่ที่ศีล ย่อมเข้าไม่ถึงแก่นของศาสนา
ฉันนั้น เพราะเขาได้ถือเอาสะเก็ดของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่สะเก็ดนั้น
3.) บางคนเมื่อออกบวชแล้ว ได้รับลาภสักการะ และความสรรเสริญ แต่เขาไม่มีความยินดี
3.) บางคนเมื่อออกบวชแล้ว ได้รับลาภสักการะ และความสรรเสริญ แต่เขาไม่มีความยินดี
ในสิ่งเหล่านั้น ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งเหล่านั้น ไม่ประมาท ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะลาภ
สักการะ และความสรรเสริญนั้น
เมื่อ ไม่ประมาท เขาจึงมีความเพียรในการถือศีลให้บริสุทธิ์ เขามีความยินดี พอใจในความ
บริสุทธิ์ของศีลนั้น แต่ความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในศีลนั้น ไม่ประมาท ไม่
ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความบริสุทธิ์ของศีลนั้น
เมื่อไม่ประมาท เขาจึงมีความเพียรในการทำสมาธิให้เกิดขึ้น เขามีความยินดี พอใจใน
สมาธินั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น ผู้อื่นเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เขาย่อมมัวเมา มี
ความประมาทเพราะสมาธินั้น
เปรียบเสมือนผู้แสวงหาแก่นไม้ ไปพบต้นไม้ใหญ่ แล้วถากเอาเปลือกถือไป คิดว่านั่นคือ
แก่นไม้ เขาย่อมไม่ได้แก่นไม้ ฉันใด ผู้ที่ออกบวชแล้วติดอยู่ที่สมาธิ ย่อมเข้าไม่ถึงแก่นของ
ศาสนา ฉันนั้น เพราะเขาได้ถือเอาเปลือกของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่เปลือกนั้น
4.) บางคนเมื่อออกบวชแล้ว ได้รับลาภสักการะ และความสรรเสริญ แต่เขาไม่มีความยินดี
4.) บางคนเมื่อออกบวชแล้ว ได้รับลาภสักการะ และความสรรเสริญ แต่เขาไม่มีความยินดี
ในสิ่งเหล่านั้น ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งเหล่านั้น ไม่ประมาท ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะลาภ
สักการะ และความสรรเสริญนั้น
เมื่อไม่ประมาท เขาจึงมีความเพียรในการถือศีลให้บริสุทธิ์ เขามีความยินดี พอใจในความ
บริสุทธิ์ของศีลนั้น แต่ความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในศีลนั้น ไม่ประมาท ไม่
ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความบริสุทธิ์ของศีลนั้น
เมื่อไม่ประมาท เขาจึงมีความเพียรในการทำสมาธิให้เกิดขึ้น เขามีความยินดี พอใจใน
สมาธินั้น แต่ความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในสมาธินั้น ไม่ประมาท ไม่ยกตน
ข่มผู้อื่น เพราะสมาธินั้น
เมื่อไม่ประมาท เขาจึงมีความเพียรในการเจริญวิปัสสนา จนทำญาณทัสสนะให้เกิดขึ้น
(การเห็นแจ้งในปัญญาจากการเจริญวิปัสสนาขั้นต้น แต่ยังไม่ถึงขั้นมรรค/ผล หรือบรรลุ
มรรค/ผลขั้นต้นแล้ว (เช่น เป็นโสดาบัน) แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นพระอรหันต์) เขามีความยินดี
พอใจในญาณทัสสนะนั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่ ผู้อื่นไม่รู้ไม่เห็น เขาย่อม
มัวเมา มีความประมาทเพราะญาณทัสสนะนั้น
เปรียบเสมือนผู้แสวงหา แก่นไม้ ไปพบต้นไม้ใหญ่ แล้วถากเอากระพี้ถือไป คิดว่านั่นคือแก่น
ไม้ เขาย่อมไม่ได้แก่นไม้ ฉันใด ผู้ที่ออกบวชแล้วติดอยู่ที่ญาณทัสสนะ ย่อมเข้าไม่ถึงแก่น
ของศาสนา ฉันนั้น เพราะเขาได้ถือเอากระพี้ของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กระพี้นั้น
5.) บางคนเมื่อออกบวชแล้ว ได้รับลาภสักการะ และความสรรเสริญ แต่เขาไม่มีความยินดี
5.) บางคนเมื่อออกบวชแล้ว ได้รับลาภสักการะ และความสรรเสริญ แต่เขาไม่มีความยินดี
ในสิ่งเหล่านั้น ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งเหล่านั้น ไม่ประมาท ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะลาภ
สักการะ และความสรรเสริญนั้น
เมื่อ ไม่ประมาท เขาจึงมีความเพียรในการถือศีลให้บริสุทธิ์ เขามีความยินดี พอใจในความ
บริสุทธิ์ของศีลนั้น แต่ความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในศีลนั้น ไม่ประมาท ไม่
ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความบริสุทธิ์ของศีลนั้น
เมื่อไม่ประมาท เขาจึงมีความเพียรในการทำสมาธิให้เกิดขึ้น เขามีความยินดี พอใจใน
สมาธินั้น แต่ความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในสมาธินั้น ไม่ประมาท ไม่ยกตน
ข่มผู้อื่น เพราะสมาธินั้นเมื่อไม่ประมาท เขาจึงมีความเพียรในการเจริญวิปัสสนา จนทำ
ญาณทัสสนะให้เกิดขึ้น เขามีความยินดี พอใจในญาณทัสสนะนั้น แต่ความดำริยังไม่เต็ม
เปี่ยม ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในญาณทัสสนะนั้น ไม่ประมาท ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะญาณทัส
สนะนั้นเมื่อไม่ประมาท เขาจึงมีความเพียรในการเจริญวิปัสสนาต่อไป จนทำอรหัตตมรรค
อรหัตตผล ให้เกิดขึ้น (บรรลุเป็นพระอรหันต์)เปรียบ เสมือนผู้แสวงหาแก่นไม้ ไปพบต้นไม้
ใหญ่ แล้วถากเอาแก่นถือไป เขาย่อมได้ประโยชน์ จากแก่นไม้นั้น ฉันใด ผู้ที่ออกบวชแล้ว
ไม่ประมาท มีความเพียรในการเจริญวิปัสสนา จนทำอรหัตตมรรค อรหัตตผลให้เกิดขึ้น เขา
ย่อมเข้าถึงแก่นของศาสนา ฉันนั้นเพราะพรหมจรรย์นี้ มีอรหัตตมรรค อรหัตตผลเป็น
ประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด.
.
พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพพาชกผู้ถือลัทธิอื่นพึงถามเธอทั้งหลายว่า.... ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อประโยชน์อะไร เธอทั้งหลายพึงชี้แจงแก่พวกปริพพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อสำรอกราคา....เพื่อละสังโยชน์.... เพื่อถอนอนุสัย...เพื่อรู้รอบสังสารวัฏอันยืดยาว....เพื่อความสิ้นอาสวะ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชา และวิมุตติ...เพื่อฌาณทัศนะ เพื่อปรินิพพานอันปราศจากอุปาทาน...”
วิราคสูตร ๙ ในอัญญาติตถิยวรรคที่ ๕ มหา. สํ. (๑๑๗-๑๒๖)
ตบ. ๑๙ : ๓๓-๓๕ ตท. ๑๙ : ๓๐-๓๒
ตอ. K.S. ๕ : ๒๕-๒๗
พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อประสงค์อะไร.... พวกเธอพึงตอบพวกเขาอย่างนี้ว่า พากเราอยู่เพื่อประพฤติพรหมจรรย์กำหนดรู้ทุกข์ ถ้าพวกเขาถามอย่างนี้ว่า ทุกข์ที่ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อกำหนดรู้นั้นคืออะไร.... พวกเธอพึงตอบพวกเขาอย่างนี้ว่า
ทุกข์ คือ ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...
ทุกข์ คือ ดีใจ รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์....
ทุกข์ คือ จักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ...
ทุกข์ คือ จักขุสัมผัส... โสตสัมผัส...ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส... มโนสัมผัส...
ทุกข์ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะผัสสะเหล่านี้เป็นปัจจัย”
ติตถิยสูตร สฬา. สํ. (๒๓๘)
ตบ. ๑๘ : ๑๗๒-๑๗๓ ตท. ๑๘ : ๑๕๕
ตอ. K.S. ๔ : ๗๘
http://www.watpanonvivek.com
http://www.84000.org/true/374.html
http://www.84000.org/true/438.html
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=7442.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น